Clean ennergy Logo 01 1
Head 01 1

“สถาบันอาศรมศิลป์”

เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ที่ดำเนินงานในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม (SE : Social Enterprise:)  ได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ตุลาคม 2549 ปัจจุบัน สถาบันอาศรมศิลป์ เปิดให้บริการวิชาการด้วยการจัดการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรประกาศนียบัตร ใน 3 สาขา ได้แก่ ศึกษาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ (ผู้ประกอบการสังคม) พร้อมทั้งให้บริการชุมชนด้วยความเชี่ยวชาญจากศาสตร์ทั้งสามและการบูรณาการข้ามศาสตร์ ร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ โดยดำเนินงานในรูปแบบของโครงการเพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Pic 1 01 01

เจตนารมณ์แรกเริ่มก่อตั้งสถาบันอาศรมศิลป์

มุ่งหวังที่จะให้เป็นโรงเรียนสอน “ครู” จากประสบการณ์การดำเนินงานของโรงเรียนรุ่งอรุณ กว่า 10 ปี จึงเล็งเห็นความสำคัญว่า”ครู” คือผู้นำทาง “ศิษย์” ไปสู่การเรียนรู้ที่ถึงคุณค่าแท้ เป็นที่มาของการเปิดสอนใน สาขาศึกษาศาสตร์ พร้อมกับตระหนักว่าการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมย่อมเอื้อต่อการเรียนรู้ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงถือกำเนิดขึ้น ต่อมาได้เปิดสอน สาขาศิลปศาสตร์ (ผู้ประกอบการสังคม) เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพและพึ่งพาตนเองได้ด้วยการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

เรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม

การจัดการเรียนรู้ที่สถาบันอาศรมศิลป์ ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) เป็นสำคัญ ประกอบด้วยหลักการ 3H ได้แก่ Heart การพัฒนาคุณค่าภายใน (core value) Head การพัฒนาความรู้ที่จำเป็น (core knowledge) และ Hand การพัฒนาทักษะที่สำคัญ (core skill) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สูงสุดของมนุษย์ที่เข้าถึงวิชาการและวิชาชีวิต ด้วยการเรียนรู้บนการทำงานจริง (Work-Based Learning) ผ่านโครงงานวิจัยและโครงการบริการชุมชนต่างๆ ของสถาบันฯ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและการเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดจากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและร่วมพัฒนาสังคมวิชาชีพ “ครู” ศึกษาศาสตร์ มีฐานปฏิบัติการเรียนรู้อยู่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ มีห้องเรียนจริงที่มีนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาชีพ “สถาปนิก” สถาปัตยกรรมศาสตร์ มีฐานปฏิบัติการเรียนรู้อยู่ที่ บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด และสตูดิโอสถาปนิกวิชาชีพ ซึ่งทำงานบริการ

ด้านสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม 

ให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่ผู้มีรายได้สูง ปานกลาง จนถึงผู้ไม่มีรายได้ วิชาชีพ “ผู้ประกอบการสังคม” มีฐานการเรียนรู้อยู่ที่เครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่ จ.ปทุมธานี ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนมีชัยพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ศูนย์การเรียนรู้แพทย์วิถีธรรม จ. ปทุมธานี

CONFIRM สคส คนรวมๆ.เฮ
Pic 2 01

รับใช้สังคม 

จากการบ่มเพราะความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทั้งสาม และการบูรณาการข้ามศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ให้บริการชุมชนด้วยการร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ ดำเนินโครงการเพื่อชุมชนและสังคม โดยใช้งานวิจัยและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ร่วมสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนและสังคมนั้น สถาบันฯ เชื่อว่า “คุณค่า” หรือ “ความหมาย” ของงาน มิได้จำกัดอยู่เพียงผลผลิตปลายทางเท่านั้น แต่ “คุณค่าแท้” ของแต่ละโครงการอยู่ที่กระบวนการมีส่วนร่วม ที่จะทำให้เกิดการประสานประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งสำหรับชุมชน เจ้าของโครงการ ไปจนถึงสังคมและธรรมชาติแวดล้อม ในการดำเนินงานทุกโครงการจึงให้ความสำคัญกับการ “อ่าน” เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจ “ปูมหลัง” (Background) ที่เป็นบริบทของแต่ละโครงการตามความเป็นจริงอย่างรอบด้านเพื่อระบุโจทย์หรือ “ความท้าทาย” (Challenge) และตั้ง “เป้าหมายเชิงคุณค่า” ที่ชัดเจนว่าต้องการนำไปสู่ “ความเปลี่ยนแปลง” (Change) อย่างไรที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในมิติต่างๆอย่างเป็นองค์รวม ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติภายในระดับปัจเจกบุคคล เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์ที่ท้าทายและซับซ้อน สถาบันจึงพยายามสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในแต่ละโครงการให้มากที่สุดเท่าที่เงื่อนไขจะสามารถทำได้ ซี่งในกระบวนการมีส่วนร่วมนี้ บุคลากรของสถาบันจะต้องทำงานในบทบาทของ “กระบวนกร” (Facilitator) ที่ทำหน้าที่ “อำนวยการ” (Facilitate) ให้เกิดการ ”ร่วมคิด ร่วมทำ” ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมรูปแบบต่างๆ เช่น การเปิดวงพูดคุยแลกเปลี่ยนการจัดประชาคม การจัด Workshop ไปจนถึงการจัดกิจกรรมเยาวชน ฯลฯ ตัวอย่างโครงการที่ดำเนินงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาชุมชน ได้แก่

Pic 4 01